DMR Digital Mobile Radio
มือถือวิทยุดิจิตอล (DMR) เป็นมาตรฐานวิทยุดิจิตอลที่ระบุไว้สำหรับวิทยุโทรศัพท์มือถือมืออาชีพ (PMR) ผู้ใช้ที่พัฒนาโดยสถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมยุโรป (ETSI) และเป็นที่ยอมรับเป็นครั้งแรกในปี 2005
ประสิทธิภาพความถี่
หนึ่งในผลประโยชน์หลักของระบบ DMR คือจากช่องที่มีความกว้าง 12.5kHz จะถูกแบ่งออกเป็นสองช่องพร้อมกันและเป็นอิสระต่อกัน โดยใช้วิธีการแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) ซึ่งยังคงมีความกว้างช่องรวมอยู่ที่ 12.5kHz แต่ว่าถูกแบ่งออกเป็นสองช่วงเวลา – timeslot 1 และ timeslot 2 (แสดงในรูปด้านล่าง) ซึ่งแต่ละ timeslot นั้นจะทำหน้าที่เป็นเส้นทางการสื่อสารที่แยกจากกันอย่างอิสระ ในแผนภาพวิทยุ 1 และ 3 กำลังพูดคุยกันโดยใช้ timeslot ที่ 1 ส่วนวิทยุที่ 2 และ 4 กำลังพูดคุยกันโดยใช้ timeslot ที่ 2 ทั้งนี้ทั้งนั้น วิทยุที่ 1 และ 3 จะไม่ได้ยินวิทยุที่ 2 และ 4 คุยกัน และวิทยุที่ 2 และ 4 ก็จะไม่ได้ยินวิทยุที่ 1 และ 3 คุยกันเนื่องจากใช้ช่วงเวลาที่ต่างกันในการสื่อสารแม้จะใช้ความถี่รับส่งเดียวกัน
ซึ่งในการจัดเรียงแบบนี้ แต่ละเส้นทางการสื่อสารจะต้องการความกว้างของความถี่ใช้งานเพียงแค่ 6.25 KHz ซึ่งเป็นแค่ครึ่งหนึ่งของความกว้างรวมที่ 12.5 KHz
คุณภาพเสียงดิจิตอล
DMR เทคโนโลยีดิจิตอลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเสียงที่ดีขึ้นและรักษาคุณภาพเสียงในช่วงที่สูงกว่าอะนาล็อกโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ขอบสุดของช่วงการส่งผ่าน หนึ่งในเหตุผลที่ว่านี้คือ ระบบ DMR นั้นมีการจัดการที่ดีในด้านการแก้ไขข้อผิดพลาดแบบไปข้างหน้า (FEC – Forward Error Correction) และการตรวจสอบความซ้ำซ้อน (CRC – Cyclic Redundancy Check) เมื่อมีการพัฒนามาตรฐาน สิ่งเหล่านี้ช่วยในการตรวจสอบการส่งข้อมูลของวิทยุและข้อผิดพลาดในการส่งที่ถูกต้องโดยอัตโนมัติโดยการวิเคราะห์บิตที่ถูกแทรกลงไปในข้อความ ช่วยให้ข้อมูลของสัญญานวิทยุได้ถูกแก้ไขหากมีข้อผิดพลาด โดยมาตรฐาน DMR ระบุว่า 14 coders ที่แตกต่างกันนี้จะถูกใช้ในการจับคู่กับข้อมูลแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน การส่งสัญญาณจะถูกส่งผ่านโดยใช้ coders และเทคนิคอื่น ๆ เข้าช่วย เพื่อประมวลผลในเบบดิจิตอลซึ่งสามารถที่จะคัดกรองเสียงรบกวน และคงความชัดเจนของสัญญานต้นฉบับไว้อย่างสมบูรณ์มาก ผู้ฟังสามารถได้ยินทุกอย่างอย่างชัดเจน เพิ่มประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสาร และทำให้ผู้ใช้ตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที
แผนภาพข้างต้นแสดงให้เห็นถึงข้อเปรียบเทียบระหว่างประสิทธิภาพเสียงของวิทยุระบบอนาล็อก และวิทยุระบบดิจิตอลแบบดีเอ็มอาร์ ผลกระทบที่ว่านี้มีต่อการรับฟังของผู้ใช้ ที่ขอบของพื้นที่ครอบคลุมของวิทยุอนาล็อก สัญญานเสียงจะค่อนข้างอ่อนและมีเสียงซ่ามาก แต่ในพื้นที่เดียวกันวิทยุระบบดิจิตอบแบบดีเอ็มอาร์ จะมีเสียงที่ชัดเจนไม่มีเสียงซ่าใดใด ซึ่งระบบดิจิตอลนี้ไม่เพียงแต่จะสร้างให้เกิดประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังสร้างความชัดเจนในการติดต่อสื่อสารที่ดีกว่าแบบอะนาล็อคอย่างมากมายเมื่อระยะห่างระหว่างคู่สถานีมากขึ้น
การใช้ TS1 และ TS2 ในแบบ Full Duplex: ความสามารถในการใช้งานแบบ Full Duplex Telephony แบบเต็มรูปแบบ เป็นหนึ่งในหลายประโยชน์ของเทคโนโลยี TDMA ซึ่งกลุ่มผู้ใช้จะต้องมีระบบที่สามารถรองรับการเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์มาตรฐานภายนอกอย่างสมบูรณ์และราบรื่น ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ภายนอกสามารถใช้ Full Duplex Call อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เครดิต http://www.oriscom.com and E20WMJ อิอิ
การนำมาใช้งานในเชิงระบบวิทยุสมัครเล่น ในต่างประเทศ และในประเทศไทย
COMING SOON …..